วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกครั้งที่14 


 วันจันทร์ที่ 27 เมษายน2563
เวลา 08:30-12:30น.

ทบทวนเรื่องแผนการสอนหน่วย มะละกอ เนื่องจากยังมีข้อผิดพลาดอยู่หลายจุด
อาจารย์ได้แนะนำและเสนอวิธีแก้ไขดังนี้..

1.ตั้งปริศนาคำทายให้เด็กตอบ
2.ให้เด็กลองสังเกตลักษณะด้วยตาก่อน เช่น สี รูปทรง เป็นลำดับแรกถามเด็กและบันทึกลงในตาราง
3.ให้เด็กได้ลองสัมผัสพื้นผิว ดมกลิ่น รูปร่าง และชิม ถามเด็กและบันทึกลงในตาราง


4.ต้องมีการสรุป ว่ามะละกอแต่ลืะชนิดมีคว่ามแตกต่างกันอย่างไร

จากนั้นอาจารย์ได้ให้สาธิตวิธีการสอนโดยใช้ปากกาแทนหน่วยของตนเอง 




ประเมิน
            ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์ แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไร 
            ประเมินเพื่อน :ตั้งใจฟังที่อาจารย์บอกอธิบาย
            ประเมินอาจารย์: อธิบายการเขียนแผนการจัดประสบการณ์อย่างระเอียด



บันทึกครั้งที่13 



วันจันทร์ที่ 20 เมษายน 2563
เวลา 8:30-12:30 น.

ในสัปดาห์นี้อาจารย์ทบทวนเรื่องแผนการสอน และได้ยกตัวอย่างการสาธิตวิธีการสอนต่างๆ
โดยเริ่มต้องมีเพลงก่อนการสอน ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์เพื่อที่จะสาธิตวิธีการสอนจากเครื่องเขียน

โดยอุปกรณ์มีดังนี้...
1. ข้าวสาร
2. แก้วพลาสติก
3.ปากกา
4.ดินสอ
5.ปากกาเมจิก 
6.กระดาษ


คำศัพท์
1. Rice ข้าว
2. Plastic glass แก้วพลาสติก
3. Pen  ปากกา
4. Paper  กระดาษ
5. Magic pen  ปากกาเมจิก



ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อธิบายสั้ันและกระชับ 
ประเมินเพื่อน : มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และปฏิบัติกิจกรรม



บันทึกครั้งที่12




วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2563
เวลาเรียน 08:360-12:30น.





สัปดาห์นี้อาจารย์ยังคงสอนเรื่องแผนต่อย่างต่อเนื่อง เพราะนศ ไม่เข้าใจบ้าง
จึงยกตัวอย่างดังภาพขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไขแผนของตัวเอง 
และมอบหมายให้ไขแผนการสอนให้ถูกต้อง เพราะใกล้ถึงเวลากำหนดส่ง ....

คำศัพท์
1.Compare เปรียบเทียบ
2. survey สำรวจ
3. Animal สัตว์
4. Number จำนวน
5.  Ostrich นกกระจอกเทศ

ประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พยาบยามอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจง่ายที่สุด
ประเมินเพื่อน : ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
ประเมินตัวเอง : มีส้วนร่วมในชั้นเรียน







บันทึกครั้งที่11 



วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2563
เวลาเรียน 8:30-12:30น.

เนื่องจากแผนการสอนในสัปดาห์ที่แล้วมีข้อผิดพลาดค่อยข้างมาก
จึงต้องมีการปรับแก้ไขให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 


เนื้อหานิทาน
นิทานเรื่อง มะละกอแสนหวาน
                  ณป่าแห่งหนูมีบ้านเล็กๆอยู่ในป่ามีสาวน้อยชื่อลิลลี่อยู่กับยายสองคนลิลลี่ชอบไปเก็บผลไม้ในป่ามาให้ยายเพราะในป่านี้มีผลไม้น่ากินเยอะแยะเลย ต่อมาวันนึงลิลลี่ได้ตะโกนบอกยายว่าวันนี้จะไปเก็บผลไม้ที่ป่าเหมือนเดิมลิลลี่ก็ได้ออกเดินผ่านไปสักพักลิลลี่หันไปเห็นลูกมะละกอสีส้มน่ากินลูกใหญ่ๆอยู่บนต้นลิลลี่ก็ได้เก็บมาเพื่อเอามาไว้กินกับยายพอกินมะละกอลูกนี่ลิลลี่รู้สึกผิวพรรณสดใสกว่าเดิมลิลลี่คิดว่าเป็นเพราะมะละกอลูกนี้แน่ๆวันต่อมาลิลลี่ก็ไปเก็บมากินอีกๆลิลลี่รู้สึกว่าผิวพรรณตัวเองสดใสขึ้นมากลิลลี่ก็เริ่มกินเยอะๆขึ้นจนทำให้ลิลลี่รู้สึกเบื่ออาหาร ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ จนยายมารู้ว่าลิลลี่กินเยอะมากเกินไปยายได้ตักเตือนลิลลี่ว่าควรทานให้เหมาะสมไม่งั้นอาจจะเกิดโทษได้...


คำศัพท์
1story นิทาน
2. Fruit    ผลไม้
3. Papaya Smoothie มะละกอปั่น
4. Forest ป่า
5. Sweet หวาน

ประเมิน 
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีความพยายามในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้นศ.เข้าใจรายละเอียด
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน 
ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังรายละเอียด






บันทึกครั้งที่10 





วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2563
เวลา 8:30-12:30น.


สัปดาห์นี้ได้มีการปรับวิธีการเรียนการสอนใหม่ เปลี่ยนมาเป็นการเรียนแบบออนไลน์ซึ่งอาจารย์ใช้ แอพพลิเคชั่นZoom ในการสอนครั้งนี้ ซึ่งยากในการปรับเปลี่ยน และลำบากในการสื่อให้เข้าใจ


แผนจัดประสบการณ์วันพฤหัสบดีเรื่อง ประโยชน์และข้อควรคำนึงของส้ม
โดยจะมีนิทานช่วยส่งเสริมจินตนาการของเด็กและง่ายต่อการทำความเข้าใจและการสอน


คำศัพท์
1. Material          เนื้อหา
2. Table               ตาราง
3. Benefit           ประโยชน์
4.  Caution          ข้อระวัง 
5.  Interested      สนใจ

การประเมิน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนให้นักศึกษาเข้าใจ
ประเมินเพือน : ตั้งใจเรียนและนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุง
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนและทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากการเรียนออนไลน์ อาจจะมีปัญหาเรื่องระบบต่างๆ







บันทึกครั้งที่9 





บันทึกครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 16 มีนาคม 2563  
เวลา 08:30-12:30 น.


ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาเคลียร์งานบล็อกของตัวเอง
ซึ่งมหาลัยได้รับผลกระทยจากโรค โควิด-19 ซึ่งต้องปรับการเรียนการสอนใหม่



บันทึกครั้งที่8 



วันที่9 มีนาคม พ.ศ.2563
เวลาเรียน 8:30-12:30น.


เนื้อหาที่เรียน 

        เรียนเกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้จากสัปดาห์ที่เเล้วนำมา บูรณาการกับสาระคณิตศาสตร์กับหน่วยการเรียนรู้โดยผ่าน 6 กิจกรรมหลักเเละใน 6 กิจกรรมหลังจะต้องจัดการเรียนการสอนทั้ง 5 วัน เเต่ละวันจะสอนเพียง 30 นาที เเละจะต้องมี 

- เนื้อหา 
- สาระทางคณิตศาสตร์
- การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์

หน่วยการเรียนรู้ใน 1 สัปดาห์

จันทร์ :สอนเกี่ยวกับชนิด
อังคาร สอนเกี่ยวกับลักษณะ
พุธ  สอนเกี่ยวกับการดูแลรักษา
พฤหัสบดี : สอนเกี่ยวกับประโชยน์
ศุกร์ : สอนเกี่ยวกับข้อควรคำนึง



ยกตัวอย่างการสอนวันพฤหัสบดี 

เนื้อหา  
  - ประโยชน์        บำรุงสมอง บรรเทาอาการท้องผูก ช่วยให้ระบบย่อยทำงานดี บำรุงหัวใจ ต้านมะเร็ง
          - ข้อควรระวัง     รับประทานมากไปมีผลเสี่ยงต่อกระดูก เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ

สาระทางคณิตศาสตร์  
          - การนับจำนวน
          - การเปรียบเทียบมาก/น้อย
          - การนับเลขฮินดู

การจัดประสบการณ์  
          - นิทาน
          - สรุปประโยชน์เเละข้อระวัง
          - กราฟเเสดงความคิดเห็น


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
                                 1. Benefit           ประโยชน์
                                 2. Caution         ข้อระวัง                               
                                 3. Mathematics   คณิตศาสตร์
                                 4. Cancer มะเร็ง
                                 5. Papaya          มะระกอ
                                 6. Nourish the heart บำรุงหัวใจ
                                 7. Constipation   ท้องผูก

ประเมิน
ประเมินตัวเอง    ตั้งใจฟังอาจาร์อธิบาย ตอบคำถามเมื่ออาจารย์ถาม ถามอาจารย์เมื่อไม่เข้าใจ
ประเมินเพื่อน     ตั้งใจและทำงานอย่างตั้งใจ
ประเมินอาจารย์  อธิบายการทำมายแมทและการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์โดยผ่านหน่วย 
                         การเรียนรู้และผ่านกิจกรรมทั้ง6กิจกรรม






บันทึกครั้งที่7


วันจันทร์ที่24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563
เวลาเรียน 8:30-12:30 น.

เนื้อหาในการเรียนวันนี้อาจารย์ให้จับคู่ให้นักศึกษาทำมายแมพเกี่ยวกับการบูรณาการการสอนในแต่ละวัน โดยมีมายคู่และมายแมพกลุ่ม แต่ดิฉันไม่ได้ถ่ายมายแมพที่ทำคู่ไว้..




อาจารย์ได้แนะนำวิธีการทำมายแมพให้ถูกหลักวิธี
โดยมีหลักการง่ายๆ เช่น 

1.วาดจุดกึ่งกลางของกระดาษ  
2.ใช้รูปภาพหรือจะวาดรูปประกอบไอเดียที่เราเพิ่งจะเขียนลงไปตรงกลาง 
3.การเล่นสี
.4.วาดกิ่งออกมาจากภาพตรงกลางต้องให้เส้นเชื่อมต่อกัน 
5.วาดเส้นโคง

คำศัพท์
   1.Benefit       ประโยนช์
    2.Blame         โทษ
    3.Day           วัน 
    4.Learning unit หน่วยการเรียนรู้
    5.Attendance    การดูรักษา



สาธิตการสอน

สาธิตการสอนเรื่อง : เครื่องเขียน


หลังจากที่ได้ส่งคลิปการสาธิตไป อาจารย์ก็ได้มาคอมเมนต์แนะนำเพื่อการปรับปรุง
และทำให้ดีขึ้นเหมาะสมในครั้งต่อไป...

เพลง1ปีมี 12เดือน 


โดยอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนอัดคลิปร้องเพลง เพื่อที่จะทดสอบน้ำเสียงและจังหวะของนักศึกษาเพื่อที่จะพัฒนาไปเป็นครูปฐมวัย แล้วส่งทางไลน์..



เนื้อเพลง 

1 ปีนั้นมี 12เดือน
อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
1สัปดาห์นั้นมี 7 วัน (ซ้ำ)
อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ Boom!!






เพลงแมวเหมียว 







เพลงแมวเหมียว
เนื้อเพลง 

 นั้นเเมวร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว 
เเมวเปอร์เซีย  1 2  3  4  5  
อีกตัวนั้นเดินตรงมา อีกตัวนั้นเดินตรงมา
ร้อง เมี๊ยว เมี๊ยว หง่าว 6  7  8  9 10 


วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

ตัวอย่างการสอน







กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมจำแนกขนาดและรูปทรง
โดยครูจะมีต้นแอปเปิ้ล 2 ต้น ต้นเล็กและต้นใหญ่ และมีลูกเงารูปแอปเปิ้ลเล็กและใหญ่
โดยครูจะมีรูปแผ่นป้ายแอปเปิ้ลทั้ง2แบบ เล็กและใหญ่ โดยจะคละแผ่นป้ายกัน 
และจะสอบถามว่าเด็กๆเคยเห็นแอปเปิ้ลหรือไม่ แอปเปิ้ลมีสีอย่างไรและมีขนาดเหมือนกันหรือไม่
โดยสีเขียวจะมีผลเล็ก สีแดงมีผลใหญ่ ต่อมาครูให้เด็กนับจำนวนแอปเปิ้ลแต่ละสีพร้อมๆกัน

 วิธีการจัดกิจกรรม 
- ครูให้เด็กออกมาติดแอปเปิ้ล และให้คำแนะนำไปด้วย ว่าผลใหญ่ต้องติดต้นใหญ่ ผลเล็กก็ติดต้นเล็ก



วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

บทความ 



บทความเรื่อง : ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ที่มา :  

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วย

การจำแนกประเภท คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งต่าง ๆ ว่ามีความเหมือนและต่างกันอย่างไร จึงสามารถจัดประเภทได้
การจัดหมวดหมู่ คือการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่าง ๆ และจับสิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรืออยู่ประเภทเดียวกัน
การเรียงลำดับ คือการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดดินสอ 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน ให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำหรือจากสั้นไปยาว
การเปรียบเทียบ คือเด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้ คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า เบากว่า สูงกว่า ฯลฯ
รูปทรง คือให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงรี สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฯลฯ ผ่านการจับของเล่นหรือสิ่งของรอบตัว
พื้นที่ คือการให้เด็กได้รู้จักความตื้น - ลึก, กว้าง - แคบ ของสิ่งต่าง ๆ
การชั่งตวงวัด คือให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาว และระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคร่าว ๆ ก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาก่อน
เรียนรู้หน่วยปริมาตรการชั่ง
การนับ คือคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่  1 – 10 หรือมากกว่านั้น
การรู้จักตัวเลข คือการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็น หรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นที่เกี่ยวกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยอาจมีการเปรียบเทียบแทรกเข้าไปด้วย เช่น มากกว่า น้อยกว่า ฯลฯ
การรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข คือการเริ่มให้เด็กจับคู่ทีละหนึ่งก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มจำนวน ตัวอย่างเช่น กิจกรรมลูกปัดไม้จำนวนในการทำกิจกรรมคือ มีบัตรตัวเลข 0 - 10 วางลูกปัดไม้ไว้เป็นกลุ่ม โดยคละจำนวนให้เด็กนับลูกปัดแต่ละกลุ่ม และนำบัตรตัวเลขไปวางตามจำนวนของลูกปัดแต่ละกลุ่มที่นับจำนวนได้ เป็นต้น
เวลา คือ การเรียนรู้จักเวลาง่าย ๆ การเรียนรู้เรื่องเข็มสั้นบอกชั่วโมง เข็มยาวบอกนาที และตัวเลข 1 - 12 ถ้าจะสอนเรื่องนาทีขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคลค่ะ
การเพิ่มและการลดจำนวน คือ การหาผลบวกและลบ ไม่เกิน 5 10 15 20 25 ฯลฯ เพิ่มจำนวนความยาก - ง่าย ตามความเหมาะสมกับความพร้อมของเด็ก

                                      

สรุป
หากเด็กได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และเรียนรู้จากการใช้สื่อการสอนที่เป็นรูปธรรม จะส่งผลให้มี ทักษะกระบวนการทางความคิด และพัฒนาความสามารถด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การรู้ค่าจำนวน การจัดหมวดหมู่ การจำแนกเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการหาความสัมพันธ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เด็กจะเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง ที่เด็กได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวในชีวิตประจำวัน หรือการจัดกิจกรรมของคุณครูหรือผู้ปกครอง แต่ในการจัดกิจกรรมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่เด็กจะได้พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ

วิจัย



วิจัยเรื่อง : การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดเกมการศึกษา 
เรื่องจำนวนและการดำเนินการ

ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

  วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 1. เพื่อพัฒนาชุดเกมการศึกษาเรื่องจำนวนและการดำเนินการสำหรับพัฒนาทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา ก่อนและหลังการใช้ชุดเกมการศึกษาเรื่องจำนวนและการดำเนินการ 
 3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข

ประโยชน์ของการวิจัย
  1.  ได้พัฒนาชุดเกมการศึกษาเรื่องจำนวนและการดำเนินการเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย 
  2. ทราบถึงประสิทธิภาพของชุดเกมการศึกษาเรื่องจำนวนและการดำเนินการเพื่อส ่งเสริมทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 
  3. ทราบถึงผลการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการใช้ ชุดเกมการศึกษาเรื่องจำนวนและการดำเนินการเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิธีการดำเนินวิจัย
 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 
 1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 70 คน 
 1.2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุระหว่าง4-5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล ปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 25 คน ได้มาโดยการการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) 

2. แผนแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองกับกลุ ่มตัวอย ่าง โดยใช้รูปแบบ One Group Pretest-Posttest Design (สิทธ์ ธีรสรณ์, 2552)

3. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดเกมการศึกษา เรื่อง จำนวน และการดำเนินการมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย 2 ประเภท คือ
 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ชุดเกมการศึกษา เรื่องจำนวนและการดำเนินการจำนวน 8 หน ่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ละ 4 แผน แผนละ 20 นาทีรวม 32 แผน โดยส่วนประกอบของแผนการจัดประสบการณ์ แต่ละแผน มีรายละเอียดคือ สาระสำคัญจุดประสงค์การเรียนรู้สาระการเรียนรู้กิจกรรม สื่อ การประเมิน ผลพัฒนาการและบันทึกผลการจัดประสบการณ์ซึ่งการจัดประสบการณ์ชุดเกมการศึกษา เรื่องจำนวนและ การดำเนินการในแต่ละหน่วยการเรียนรู้มีขั้นตอนในกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป และ ชุดเกมการศึกษา เรื่องจำนวนและการดำเนิน ประกอบด้วย  
(1) เกมวงล้อตัวเลข 
(2) เกมเรียงต่อกัน ก่อน-หลัง 
(3) เกมเราพวกเดียวกัน 
(4) เกมคู่แท้แสนรัก
2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบประเมิน ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (อายุ4-5 ปี)

4. วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลด้วยตนเองในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2556 ตามลำดับดังนี้ 
 4.1 ประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(อายุ4-5 ปี)ก่อนจัดประสบการณ์ ชุดเกมการศึกษา เรื่องจำนวนและการดำเนินการ รวมทั้งสิ้น 4 ทักษะ 4 สถานการณ์8 ข้อคำถาม 

วิเคราะห์ข้อมูล 
 การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยดำเนินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ยของคะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 ใช้สูตร E1 /E2 และทดสอบค่า t-test

 ผลการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ ชุดเกมการศึกษาเรื่องจำนวนและการดำเนินการ ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัย เป็น 3 ตอน ตามวัตถุประสงค์ การวิจัย